โครงการ EFS


ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนาระบบการชำระเงินของไทย และความจำเป็นที่ ธปท. จะต้องมีบทบาทในการริเริ่มพัฒนาและบริหารระบบการชำระเงินให้มีประสิทธิภาพและความมั่นคง ปลอดภัย โดยได้เริ่มทยอยเปิดให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับระบบการชำระเงินมาตั้งแต่ปี 2538 สิ่งที่ ธปท. พิจารณาดำเนินการในเวลาต่อมาคือการพัฒนาระบบการชำระเงินโดยคำนึงถึงความต้องการและพฤติกรรมของผู้ใช้สื่อการชำระเงินต่างๆ ตลอดจนแนวโน้มของพัฒนาการที่ไม่หยุดยั้งของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รวมทั้งเพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในระบบการชำระเงิน
ในปี 2544 ธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดระบบบริการด้านการเงินด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Financial Services) ซึ่งประกอบด้วย (1) บริการด้านระบบการชําระเงิน (2) บริการด้านเงินฝากและตราสารหนี้ และ (3) บริการด้านตลาดการเงิน เพื่อให้บริการแก่สถาบันการเงินต่างๆในประเทศไทย โดยในกรณีที่จะต้องทําธุรกรรมระหว่างกันและก่อให้เกิดความผูกพันกันทางสัญญาก็จําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจัดให้มีระบบและกระบวนการเพื่อความปลอดภัยในการรับและส่งข้อมูลระหว่างกัน โดยกําหนดหลักการมาตรฐานขั้นต่ำว่า ประการแรกจะต้องยืนยันได้ว่าผู้ใช้บริการคือผู้ใด ประการที่สองข้อความที่ส่งมานั้นเป็นข้อความที่แท้จริง ประการที่สาม ณ จุดใดจุดหนึ่งผู้ใช้บริการจะไม่สามารถยกเลิกเพิกถอนข้อความที่ตนส่งได้ และประการที่สี่มีกระบวนการทางเทคนิคที่ทําให้ตรวจสอบการส่งและรับข้อความได้
ทั้งนี้ เทคโนโลยี PKI (Public Key Infrastructure) ที่ใช้งานควบคู่ไปกับใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Certificate) เป็นเทคโนโลยีสำคัญที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการดังกล่าวได้อย่างสมบูรณ์ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้มอบหมายให้ บริษัท ไทยดิจิทัล ไอดี จำกัด ในฐานะผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (CA) ที่มีความน่าเชื่อถือ ทำหน้าที่ออกใบรับรองฯยืนยันตัวตนของผู้ใช้บริการระบบฯ(User)ทุกราย ก่อนเริ่มเข้าใช้งานระบบบริการด้านการเงินด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Financial Services) จวบจนถึงปัจจุบัน

นอกจากนี้ บริษัท ไทยดิจิทัล ไอดี จำกัด (TDID CA) ยังได้ร่วมมือกับหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ที่มีความสนใจเป็นตัวแทนในการทำหน้าที่ตรวจสอบตัวตนและออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ของ TDID CA (โดยใช้โปรแกรมระบบรับลงทะเบียนที่ TDID จัดเตรียมไว้ให้) ให้แก่ผู้ใช้บริการซึ่งอาจเป็นพนักงานภายใน หรือลูกค้าทั่วไปภายนอกขององค์กรก็ได้
องค์กรที่เชื่อมต่อระบบรับลงทะเบียนกับ TDID CA แล้วในปัจจุบัน มีดังต่อไปนี้ (เรียงตามตัวอักษรในแต่ละกลุ่ม)
ธนาคารกลาง
- ธนาคารแห่งประเทศไทย
ธนาคารพาณิชย์ไทย
- ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารไทยเครดิตเพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) จำกัด (มหาชน)
ธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ
- ธนาคารซิตี้แบงก์
- ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น
- ธนาคารมิซูโฮคอร์ปอเรต จำกัด
- ธนาคารแห่งโตเกียว-มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด สาขากรุงเทพฯ
ธนาคารแห่งประเทศจีน จำกัด สาขากรุงเทพ
สถาบันภาครัฐ
- กรมสรรพากร
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
- ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
- ธนาคารออมสิน
- สถาบันคุ้มครองเงินฝาก
สถาบันภาคเอกชน
- บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
- บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด
- บริษัท สำนักหักบัญชี (ประเทศไทย) จำกัด
- บริษัทเงินทุน กรุงเทพธนาทร จำกัด (มหาชน)
- บริษัทเงินทุน แอ๊ดวานซ์ จำกัด (มหาชน)
- บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
- บริษัทหลักทรัพย์ โนมูระ พัฒนสิน จำกัด (มหาชน)